Royal Cuisine: อาหารของแผ่นดิน จาก “ปลานิล” ของในหลวง

 |  November 16, 2016

อาหารของแผ่นดิน

จาก “ปลานิล”ของในหลวง

 T0013_0005_01

ผู้เขียน: พิชามญช์ ชัยดรุณ (เพชร)

Phichamon Chaidarun (Phet)

ภาพ: อภิวัฒน์ สิงหราช (ภิ)

Apiwat Singharach (Pi)

เช้าวันที่ ๑๘ ตุลาคม ๒๕๕๙ ที่ตลาดเมืองทองธานี

มีบางสิ่งบางอย่างที่เปลี่ยนแปลงจากเดิมที่เคยเป็นมา นั่นคือคิวต่อแถวยาวเฟื้อยที่มีต้นสายจากร้านขายปลาร้านหนึ่ง ถามไถ่ได้ความว่า เหตุที่คิวยาวเช่นนี้เพราะลูกค้ามาซื้อ “ปลานิล”

สาเหตุที่เป็นเช่นนี้เพราะหลังการสวรรคตของพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชในวันที่ ๑๓ ตุลาคม ๒๕๕๙ คนไทยได้ซึมซับถึงพระราชกรณียกิจของพระองค์ท่านผ่านสารคดีเทิดพระเกียรติมากมาย หนึ่งในนั้นคือสารคดีว่าด้วยเรื่อง “ปลานิล” ปลาน้ำจืดใกล้ตัวที่เรารู้จักกันมาตั้งแต่เกิดก็ว่าได้ แต่หลายคนไม่เคยรู้เลยว่า “ปลานิล”กลายมาเป็น “อาหารของแผ่นดิน” ในวันนี้ได้อย่างไร…

เรื่องราวเริ่มต้นในวันที่ ๒๘ เมษายน ๒๔๙๖ ซึ่งเป็นวันครบรอบแห่งพระราชพิธีราชาภิเษกสมรส พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช และสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ ทรงปล่อยปลาหมอเทศ ปลาแรด และปลากระโห้ลงในบ่อที่พระราชวังไกลกังวล ซึ่งเป็นบ่อที่ดัดแปลงจากสระว่ายน้ำและใช้เป็นบ่อเลี้ยงปลาเพื่อเป็นตัวอย่างตามพระราชดำริ เนื่องจากได้ทอดพระเนตรเห็นความทุกข์ยากของประชาชนที่อดอยากขาดแคลนอาหาร จึงมีพระราชประสงค์จะส่งเสริมให้ประชาชนเลี้ยงปลาน้ำจืด ด้วยทรงเห็นว่าแหล่งน้ำทางธรรมชาติที่มีอยู่บ่อน้ำที่ขุดขึ้น ควรมีการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำเพื่อเป็นแหล่งอาหาร

425851_381933825152746_913904503_n

เมื่อปลาทั้งหลายที่เลี้ยงไว้โตจนได้ขนาด จึงได้พระราชทานปลาจากบ่อหลวงนี้พร้อมด้วยหนังสือคู่มือว่าการเลี้ยงแก่ราษฏรเพื่อนำไปขยายพันธุ์ต่อไป และเมื่อทรงพิจารณาเห็นว่าปลาชนิดใดเลี้ยงง่าย จะทรงพยายามหาพันธุ์มาพระราชทาน จนกระทั่งวันหนึ่งในเดือนธันวาคม ปี ๒๕๐๗  สมเด็จพระจักรพรรดิอะกิฮิโตะ เมื่อครั้งดำรงพระอิสริยยศมกุฎราชกุมารแห่งประเทศญี่ปุ่น เสด็จเยือนประเทศไทย มกุฎราชกุมารพระองค์นี้ทรงเป็นผู้เชี่ยวชาญเรื่อง “ปลา” อย่างหาตัวจับยาก ด้วยเหตุนี้  พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช จึงได้รับสั่งขอพระราชทานพันธุ์ปลานิล และต่อมาปลานิลจากญี่ปุ่นก็เดินทางจำนวน ๕๐ ตัว ก็ได้เดินทางมาถึงประเทศไทยเพื่อถวายแด่พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช เมื่อวันที่ 25 มีนาคม พ.ศ. 2508

ว่ากันว่าปลานิล ๕๐ ตัวที่เดินทางไกลมานั้น เหลือรอดถึงวังสวนจิตรลดาเพียง ๑๐ ตัว และในหลวงของเราได้ทรงประคับประคองปลานิลที่รอดชีวิตเหล่านี้ โดยทรงทดลองเลี้ยงปลานิลในบ่อภายในสวนจิตรลดาอย่างใกล้ชิด จนในที่สุดปลานิลได้เจริญเติบโตและแพร่ขยายพันธุ์ได้เป็นอย่างดี จึงได้พระราชทานชื่อว่า ปลานิล (โดยมีที่มาจากชื่อแม่น้ำไนล์ (Nile) ที่เป็นถิ่นที่อยู่อาศัยดั้งเดิม หรือชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Tilapia nilotica)

ทำไมในหลวงจึงต้องเลี้ยงปลานิลเหล่านี้?  คำตอบง่ายๆคือเพราะทรงทราบว่าปลานิลเป็นปลาที่เลี้ยงง่าย โตไว มีเนื้อมากและสามารถเจริญเติบโตได้ในทุกแหล่งน้ำ ประเทศไทยเมื่อ ๕๐ กว่าปีที่แล้ว คนไทยในชนบทส่วนใหญ่ยังลำบากยากจน และไม่มีแหล่งอาหารเพียงพอ ดังนั้นจะมีอาหารใดเล่าที่จะหาได้ง่าย และให้โปรตีนสูงสุดเท่า “ปลานิล”

ใช้เวลาเกือบหนึ่งปี ปลานิลจากญี่ปุ่นที่รอดชีวิตก็พร้อมสำหรับการเป็น “อาหารของแผ่นดิน”  โดย ในหลวงได้พระราชทานพันธุ์ปลาดังกล่าวให้แก่กรมประมงจำนวนหนึ่ง เมื่อวันที่ 17 มีนาคม พ.ศ. 2509 เพื่อนำไปขยายพันธุ์และแจกจ่ายแก่พสกนิกร และปล่อยลงไว้ตามแหล่งน้ำต่าง ๆ ผลปรากฎว่าความนิยมเลี้ยงปลานิลได้กระจายออกไปอย่างกว้างขวาง เกษตรกรหันมาสนใจการเลี้ยงปลาเพิ่มมากขึ้น มีอาหารโปรตีนจากปลาบริโภคกันอย่างทั่วถึง

ปลานิล ๑๐ ตัวที่รอดชีวิต ขยายพันธุ์ไปทั่วประเทศไทยเป็นร้อย เป็นพัน หมื่น แสน ล้านตัว เลี้ยงชีพเลี้ยงชีวิตคนไทยมายาวนาน เมนูปลานิลได้ขึ้นโต๊ะในบ้านเรือนของชาวบ้านไปจนถึงคฤหาสน์ของเศรษฐีคหบดีมานานครบ ๕๐ ปีแล้วในวันนี้ ด้วยสายพระเนตรอันยาวไกลของในหลวง และน้ำพระทัยที่พระราชทานแด่พสกนิกรไทยโดยไม่เลือกชนชั้นวรรณะ

แต่เมนูปลานิล ไม่ได้ขึ้นโต๊ะเสวยในวังสวนจิตรลดาแม้แต่น้อย เนื่องจากพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวไม่โปรดเสวยปลานิล ทุกครั้งที่มีผู้นำปลานิลไปตั้งเครื่องเสวย จะโบกพระหัตถ์ให้ย้ายไปไว้ที่อื่น โดยไม่รับสั่งอะไรเลย จนวันหนึ่งมีผู้กล้าหาญชาญชัยกราบบังคมทูลถามว่า เพราะเหตุใดจึงไม่โปรดเสวยปลานิล มีรับสั่งว่า

          “ก็เลี้ยงมันมาเหมือนลูก แล้วจะกินมันได้อย่างไร”

ผ่านมานาน ๕๐ ปี ปวงข้าพระพุทธเจ้า อนุชนคนรุ่นหลังที่ต่อคิวเข้าแถวซื้อ “ปลานิล”ในวันนี้ ขอกราบแทบพระบาทสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณหาที่สุดมิได้ เพราะ “อาหารของแผ่นดิน” จาก “ปลานิล”ของในหลวงนั้น เป็นยิ่งกว่า “อาหาร”เลี้ยงชีวิต แต่ทำให้คนไทยตระหนักได้ถึงแรงบันดาลใจอันยิ่งใหญ่ในการเดินตามรอยพระบาท นั่นคือการมุ่งมั่นทำประโยชน์เพื่อผู้อื่น มิใช่เพื่อตนเอง ดังเช่นที่ครั้งหนึ่งในหลวงได้ทรงวิริยะอุตสาหะทดลองเลี้ยงปลานิลที่ประหนึ่ง “ลูก”ของพระองค์จนสำเร็จแล้วส่งต่อให้เป็นอาหารของคนไทยทั้งประเทศ

วันนี้เราจึงกินปลานิลด้วยความคิดถึงพระองค์ท่านจับหัวใจ….

q91

Over the next twelve months,  Spoon&Fork will dedicate a column each month to  the  late King Bhumibol Adulyadej’s influence on Thai cuisine.

How a fish from The Nile came to be on every Thai table, via Japan, thanks to His Majesty the King.

The ubiquitous nile tilapia (plaa nil) is found in most Thai kitchens and restaurant menus. It is grilled, fried, steamed, made into soups, salads and most Thais would assume it has been a staple in Thai cuisine for centuries.

2132

Not quite.  In fact, it was during a visit to Thailand by Emperor Akihito of Japan, that our king learned that the Japanese emperor was an expert in fish and asked him to recommend a fish that would be easy for Thai people to breed and eat. HM had already spent the past decade experimenting with a variety of fish at a pond in Chitrelada Palace and soon Emperor Akihito sent 50 nile tilapia to Thailand as a present. Only ten survived the journey and HM carefully nurtured them to health and personally began to conduct research and experimentation on how to breed them. It took ten years until those ten fish grew to hundreds, then thousands, and then, millions, ready to feed the many millions of mouths in Thailand and becoming the easiest to breed and most popular fresh water fish in the country. The Nile tilapia had officially become a food of the nation due to their easy breeding, fast growth, plentiful meat and good taste.

His Majesty, however, never took one bite of the popular plaa nin, explaining to a questioning courtier once that he had cared for them like his children, nurturing and watching them grow, he couldn’t possibly eat them. But we all have, and will continue to do so for many years to come, thanks to our king.

“แกงเขียวหวานปลานิล” โดยร้านอาหารมิกซ์ เรสเตอรอง แอนด์ บาร์

คุณณริสสร สมสวัสดิ์ (จ้ำ) Narissorn Somsawat (Cham) เจ้าของร้านอาหารมิกซ์ เรสเตอรอง แอนด์ บาร์ กล่าวถึงเมนูปลานิลว่า “พระองค์ทรงมีความเพียรเลี้ยงปลานิลจาก 50 คู่มาเพาะขยายพันธุ์จนปัจจุบันคนไทยเรามีปลานิลสำหรับบริโภคจำนวนมาก ฉะนั้นผมจึงอยากทำเมนูที่สะท้อนถึงความเป็นไทยที่หรูหราแต่เรียบง่ายออกมา ชื่อเมนู แกงเขียวหวานปลานิล

Talapia Green Curry at Mix Restaurant and Bar

Narissorn ‘Cham’ Somsawat, owner of Mix Restaurant and Bar features the tilapia green curry this month in honour of His Majesty King Bhumibol Adulyadej who introduced the popular fish to Thailand.